ACI จับมือ IATA วอนภาครัฐสนับสนุนด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมการบิน

0
854

สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (ACI) และสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ออกมาตรการทางการเงิน เพื่อเยียวยาและสนับสนุนการปฏิบัติการของท่าอากาศยานและสายการบินต่างๆ ที่กำลังปฏิบัติการอย่างเต็มที่ในการรักษาความต่อเนื่องของซัพพลายเชน และจะเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ภาคอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศทั่วโลก มีการประสานงานกับภาครัฐอย่างใกล้ชิด ในการยังยั้งการแพร่ระบาดของไวรัส รวมไปถึงการจัดส่งอุปกรณ์การแพทย์ที่สำคัญและการรักษาความต่อเนื่องของซัพพลายเชนสินค้า

ทว่า ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ต้องเผชิญกับมาตรการจำกัดการเดินทางของประเทศต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อธุรกิจของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกอย่างรุนแรง จากการที่จำนวนผู้โดยสารลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้รายรับของอุตสาหกรรมตกต่ำเกินกว่าจะสามารถยอมรับได้ แม้ว่าผู้ประกอบการต่างๆ จะดำเนินมาตรการลดต้นทุนจนถึงที่สุดแล้วก็ตาม ส่งผลให้ทั้งสายการบินและท่าอากาศยานต่างต้องประสบกับวิกฤตด้านสภาพคล่อง

ภาวะปัจจุบันของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกนั้นกำลังสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียงานนับล้านตำแหน่ง จากประมาณการที่ว่า อุตสาหกรรมฯ สนับสนุนการจ้างงานทั้งระบบถึง 65.5 ล้านตำแหน่งทั่วโลก และส่งผลให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจทั่วโลกถึงกว่า 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีพนักงานที่ปฏิบัติงานให้กับสายการบินและท่าอากาศยานโดยตรง 10.5 ล้านคน

Mr. Alexandre de Juniac

โดย ACI และ IATA ได้เรียกร้องให้มีมาตรการสนับสนุนด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมการบินดังต่อไปนี้:

  • มาตรการด้านภาษีและค่าธรรมเนียม ได้แก่ การยกเว้นภาษีค่าจ้าง ภาษีนิติบุคคล ค่าธรรมเนียมสัมปทาน หรือการเก็บรายได้อื่นๆ ของภาครัฐฯ จากสินเชื่ออุตสาหกรรม
  • มาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อและการเงิน ได้แก่ การค้ำประกันเงินกู้โดยภาครัฐ รวมไปถึงการสนับสนุนด้านการเงินโดยตรงสำหรับทั้งระบบนิเวศทางเศรษฐกิจของภาคการบิน

Mr. Alexandre de Juniac ผู้อำนวยการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IATA กล่าวในกรณีนี้ว่า “ภายหลังจากที่วิกฤตครั้งนี้จบลง ภาครัฐของประเทศต่างๆ ยังคงต้องพึ่งพาภาคอุตสาหรรมการบินในการเป็นหัวหอกสำหรับการกอบกู้เศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลต่างๆ จึงจำเป็นต้องออกมาตรการความช่วยเหลือด้านการเงินอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยพยุงสถานะของกิจการสายการบินและท่าอากาศยานเอาไว้ ซึ่งเป็นการดำเนินการที่มีเพียงภาครัฐเท่านั้น ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะทำได้ และยิ่งสถานะการเงินของสายการบินและท่าอากาศยานมีความมั่นคงมากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะยิ่งมีความพร้อมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤตครั้งนี้ได้มากเท่านั้น”

อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Airfreight Logistics เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Airfreight Logistics หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้KLM และ Philips จับมือเปิดเส้นทางบินพิเศษ เชื่อมอัมสเตอร์ดัม – จีน
บทความถัดไปFedEx เริ่มปฏิบัติการ Project Airbridge
Thanathas Akkhachotkawanich
Bangkok grew, Australian aged, Silicon Valley matured, this aspiring writer adds flavor to our team with his aspiring smile and quill-tip talents.