FedEx ลงนามข้อตกลงขยายเกตเวย์ในฟิลิปปินส์ ณ ท่าอากาศยาน Clark

0
208

บริษัท Federal Express Corporation (FedEx) หนึ่งในผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด่วนที่ใหญ่ที่สุดของโลก ลงนามข้อตกลงร่วมกับบริษัท Luzon International Premiere Airport Development (LIPAD) ผู้ปฏิบัติการและบริหารท่าอากาศยาน Clark ใน Pampanga ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อขยายศักยภาพและพัฒนาเกตเวทย์ของบริษัทฯ ในท่าอากาศยาน Clark

โดยเกตเวย์ใหม่นี้มีเป้าหมายในการยกระดับศักยภาพของธุรกิจในพื้นที่ พร้อมยกระดับสถานะของบริษัทฯ ในตลาดการค้าระดับโลกและตอบสนองความต้องการในบริการขนส่งสินค้าทางอากาศ ครอบคลุมทั้งสินค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ชและสินค้าควบคุมอุณหภูมิทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยได้รับเกียรติจาก Mr. Joshua Bingcang ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Bases Conversion and Development Authority (BCDA), Mr. Arrey Perez ประธาน บริษัท Clark International Airport Corporation (CIAC) และ Mr. Noelle Meneses รองประธานแผนกการยกระดับการพัฒนาและธุรกิจ บริษัท Clark Development Corporation (CDC) เข้าร่วมพิธีลงนามดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้น ณ เกตเวย์แห่งใหม่ของ FedEx ในท่าอากาศยาน Clark

ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เกตเวย์ใหม่ของ FedEx จะได้รับการขยายพื้นที่เป็นสองเท่าจากขนาดพื้นที่เดิม โดยจะช่วยสนับสนุนผู้นำเข้า-ส่งออก ครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ส่งออกรายใหญ่ ด้วยการเข้าถึงที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นในตลาดการค้านานาชาติ

การดำเนินการขยายเกตเวย์เชิงกลยุทธ์นี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของทั้ง BCDA, CDC, และ LIPAD ในการพัฒนาท่าอากาศยาน Clark สู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศระดับโลก โดยแผนการพัฒนาเกตเวทย์เพิ่มเติม อาทิ ลานจอดอากาศยานและทางขับ (Taxiway) จะช่วยให้การปฏิบัติการของ FedEx สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับการเติบโตของบริษัทฯ ในภาคส่วนโลจิสติกส์ นอกจากนี้ การพัฒนาดังกล่าวยังคาดการณ์ว่าจะช่วยนำเสนอสิทธิประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่พื้นที่ทางตอนเหนือของเกาะ Luzon โดยจะช่วยให้เกิดการจ้างงานภายในชุมชน พร้อมช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างมีนัยสำคัญ


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Airfreight Logistics เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Airfreight Logistics หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้SWISS และ Swiss World Cargo ได้รับการรับรองในระบบจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรก
บทความถัดไปAir China ขยายข้อตกลงบริการจัดการสินค้าภาคพื้นในฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรกับ WFS อีกสามปี