Lufthansa Cargo ผนึกกำลัง Maersk สนับสนุนการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในบริการขนส่งสินค้าทางอากาศ

0
35

สายการบิน Lufthansa Cargo ร่วมมือกับบริษัท A.P. Moller – Maersk (Maersk) ลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการรณรงค์ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในการขนส่งสินค้าทางอากาศผ่านการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว Lufthansa Cargo จะปฏิบัติการด้วยเชื้อเพลิง SAF ปริมาณ 400 ตัน ในนามของ Maersk ในช่วงปลายปี 2024 ซึ่งจะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกได้อย่างมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีซึ่งมีปริมาณการขนส่งสินค้าสูง โดยคาดการณ์ว่าการใช้เชื้อเพลิง SAF นี้จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างน้อย 1,200 ตัน

Mr. Morten Bo Christiansen หัวหน้าแผนกการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงาน บริษัท Maersk กล่าวว่า “การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งสินค้าทางอากาศถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ท้าทายในในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับโลก ด้วยเหตุนี้ เราจึงรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ Lufthansa Cargo ในเป้าหมายที่สำคัญนี้ โดยปัจจุบัน การใช้เชื้อเพลิง SAF ในอุตสาหกรรมการบินยังคงมีข้อจำกัด เพราะฉะนั้น ภายใต้ข้อตกลงร่วมกับ Lufthansa Cargo นี้ จะช่วยให้ Maersk สามารถใช้เชื้อเพลิง SAF ได้มากยิ่งขึ้น”

Mr. Ashwin Bhat ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบิน Lufthansa Cargo กล่าวว่า “เชื้อเพลิง SAF ถือเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยยกระดับความยั่งยืนในการปฏิบัติการทางการบิน  รวมถึงการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมฯ โดยเราจะเดินหน้าเป้าหมายด้านการใช้เชื้อเพลิง SAF ร่วมกับ Maersk ภายใต้ข้อตกลงที่สำคัญนี้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการทางการบินที่ยั่งยืนยังต้องอาศัยการดำเนินการที่สำคัญหลายด้านเพื่อยกระดับฝูงบินที่ทันสมัยและการปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจำเป็นต้องดำเนินการในส่วนนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน”
อนึ่ง Maersk ตั้งเป้าหมายที่จะช่วยสนับสนุนการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้แก่ Lufthansa Cargo ภายใต้ผลิตภัณฑ์ ECO Delivery Air หนึ่งในผลิตภัณฑ์ย่อยของผลิตภัณฑ์ ECO Delivery Ocean, Air and Inland ซึ่งช่วยนำเสนอการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย Maersk ถือเป็นบริษัทแรกที่บรรลุเป้าหมายปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายใต้การประเมินขององค์กร Science-Based Targets initiative (SBTi) โดยใช้แนวทางด้านการเดินเรือเป็นหลักเกณฑ์


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Airfreight Logistics เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Airfreight Logistics หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้Qatar Airways Cargo จับมือ Japan Airline ยกระดับบริการขนส่งสินค้าทางอากาศ
บทความถัดไปNX China เข้าร่วมงาน China International Supply Chain Expo (CISCE) ครั้งที่ 2