รายงานผลการวิเคราะห์อุตสาหกรรมของ UPS ชี้ซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่น มาตรการความสอดคล้องของสินค้า และการเพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์ในเส้นทางการค้า intra-Asia จะหนุนธุรกิจไทยคว้าโอกาสทางการค้าในภูมิภาค
รายงานผลการวิเคราะห์อุตสาหกรรมของ UPS หนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุที่ใหญ่ที่สุดของโลก คาดการณ์ว่ามูลค่าการค้าของไทยในเส้นทาง intra-Asia มีแนวโน้มเติบโตขึ้นถึงสองเท่าภายในปี 2030 โดยหากไทยอาศัยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการพัฒนามาตรฐานการครองชีพ อาจส่งผลให้มูลค่าการค้าระหว่างไทย และ 11 ตลาดหลักอื่นๆ ใน ‘เอเชีย-12’ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และ เวียดนาม มีโอกาสเติบโตขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 255 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 554 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2030
การรายงานของ UPS ในหัวข้อ ‘เคลียร์รันเวย์เพื่อการค้าภายในเอเชีย (Clearing the Runway for Intra-Asia Trade)’ ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางการค้าและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงสิ่งที่บริษัทและผู้เกี่ยวข้องควรลงมือทำเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายปี 2030 ซึ่งรายงานยังระบุถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์สี่กลุ่มที่ผลักดันการค้าขายในเอเชียของไทยให้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรมและยานยนต์ (IM&A) เทคโนโลยีขั้นสูง และธุรกิจด้านสุขภาพ โดยรายได้จากผลิตภัณฑ์สี่กลุ่มข้างต้นคิดเป็นสัดส่วน 73 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้จากการค้าขายภายในเอเชียทั้งหมดของประเทศไทยในปี 2020
การค้าขายในเอเชียจะมีศักยภาพอันน่าเหลือเชื่อในอีก 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากการเติบโตของสภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำในภูมิภาคในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยความแข็งแกร่งของเครือข่ายทั่วโลกของ UPS และความเชี่ยวชาญในการเป็นตัวแทนด้านการเคลียร์สินค้า ทางบริษัทฯ ได้ช่วยภาครัฐในตลาดเอเชียต่างๆ รวมถึงคู่ค้าในอุตสาหกรรม และลูกค้าของเราในการขับเคลื่อนการค้าทั่วโลกตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา โดยรายงานฉบับนี้ได้รวบรวมความเชี่ยวชาญและข้อมูลเชิงลึกใหม่ล่าสุด เพื่อเผยถึงโอกาสและความท้าทายทางการค้าภายในเอเชียในช่วง 10 ปีข้างหน้าและต่อๆ ไป
Digital Capabilities Underpin Thailand’s Growth Opportunity
การค้าภาคอุตสาหกรรมการผลิตและยานยนต์ (IM&A) ของประเทศไทยในปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของการค้าภายในเอเชียทั้งหมดของประเทศไทย โดยมีโอกาสเติบโตมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ เทคโนโลยีขั้นสูง ก็ถือเป็นอีกภาคอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีแนวโน้มในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากการเกื้อหนุนระหว่างประเทศคู่ค้าหลักในภูมิภาค เช่น การพึ่งพากันของอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างไทยและเกาหลีใต้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการค้าในภาคอุตสาหกรรมนี้ต่อไปในอนาคต
ธุรกิจในไทยสามารถวางแผนรับมือกับอุปสรรคและหาโอกาส ด้วยการบริหารจัดการซัพพลายเชนไปสู่เส้นทางการค้าที่ยืดหยุ่น ยกตัวอย่างเช่นประเทศมาเลเซีย และการกำหนดเป้าหมายเส้นทางการค้าที่มีมูลค่าและการเติบโตสูง เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ซึ่งการบริหารจัดการซัพพลายเชนถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความยืดหยุ่นในกระแสการค้า
นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลต่อบริษัทต่างๆ ในประเทศไทย ให้เร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำงานมากขึ้น เช่น การใช้โซลูชันใหม่ๆ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและซัพพลายเชน การใช้เครื่องมือโลจิสติกส์เพื่อติดตามสถานะสินค้าแบบเรียลไทม์ และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยี AI เพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการศุลกากรและการขนส่ง
Mr. Russell Reed กรรมการผู้จัดการ บริษัท UPS Thailand กล่าวว่า “แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะมีบทบาททางในเส้นทางการค้า intra-Asia ที่ยังไม่มากนัก แต่เราคาดว่าประเทศไทยจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วใน 10 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การจะไปถึงเป้าหมายนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากบริษัทต่างๆ และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดภายในประเทศและทั่วทั้งซัพพลายเชน เพื่อสร้างซัพพลายเชนที่มีความยืดหยุ่น อันถือเป็นส่วนสำคัญในการลดอุปสรรคทางการค้าและช่วยผลักดันการค้าขายภายในเอเชียให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งบทบาทของ UPS นั้นคือการสนับสนุนและให้บริการโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจขนาดเล็กในด้านต่างๆ เช่น ด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางการค้าและการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า และในขณะเดียวกันเราก็สนับสนุนการดำเนินการของภาครัฐและธุรกิจต่างๆ เพื่อช่วยลดอุปสรรคทางการค้าในปัจจุบัน”
Increased Investment in Supply Chain Innovation Key to Unlocking Growth Potential
ในปัจจุบัน การค้าในตลาดหลัก 12 แห่งสามารถคิดเป็นเพียงสัดส่วน 88 เปอร์เซ็นต์ ของการค้าภายในเอเชียทั้งหมด และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย UPS พบว่ามูลค่าการค้าภายใน 12 ประเทศสามารถเติบโตขึ้นกว่าสองเท่าจาก 6.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2020 เป็น 13.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2030
เพื่อเพิ่มความมั่นคงในระยะยาวและรับมือกับอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น ประเทศไทยควรเพิ่มการลงทุนในนวัตกรรมซัพพลายเชนและโครงสร้างพื้นฐานและปรับใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในคลังสินค้า ระบบการจัดการสินค้าคงคลังซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลบนบล็อกเชน และการติดตามสินค้าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชนให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล นอกจากนี้ ประเทศไทยควรวางแผนจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะให้อยู่ในลำดับต้นๆ เพื่อการเติบโตและโอกาสทางการค้าในภูมิภาคในอีก 10 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ UPS คือหนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุที่ใหญ่ที่สุดของโลกด้วยรายได้ปี 2021 อยู่ที่ 97.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และยังให้บริการโซลูชันด้านโลจิสติกส์ครบวงจรที่ครอบคลุมความต้องการหลายด้านของลูกค้าในกว่า 220 ประเทศและเขตดินแดน
*สำหรับผู้ที่สนใจอ่านรายงานฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้าเว็บ UPS Intra-Asia Study
อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Airfreight Logistics เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Airfreight Logistics หรือคลิกที่นี่